UFABETWINS กี่หมัดก็ม้ายยยเจ็บ! : ทำไมเวลามีเรื่องชกต่อย มนุษย์จึงอยู่ในสภาวะไร้ความเจ็บปวด?

UFABETWINS ครั้งหนึ่งของชีวิตลูกผู้ชายไม่ว่าจะเคยผ่านช่วงวัยเรียนหรือโตมาอย่างไรก็ตาม “การชกต่อย” ถือเป็นสิ่งที่ทำให้เราเติบโตขึ้นและจดจำวีรกรรมครั้งนั้น ๆ ของเราได้ไม่มีลืม

เวลาผ่านไปเช่นเดียวกับความเจ็บปวดที่ไม่หลงเหลือ มีสิ่งหนึ่งที่เกิดฉุกคิดขึ้นมาได้ ในสมรภูมิสุดดุเดือด หมัดแลกหมัด เข่าแลกเข่า แข้งแลกแข้ง แต่แปลกที่ ณ วินาทีนั้น อาการบาดเจ็บกลับไม่ปรากฏ แถมเรายังเลือดร้อนยิ่งกว่าเดิม จนกระทั่งได้หลับสักตื่นนั่นแหละ จึงได้รู้ว่าอาการ เจ็บ, มึน และ ปวด เป็นเช่นไร ทั้ง ๆ ที่โดนชก ณ ตอนนั้น ทำไมร่างกายจึงไม่รู้สึก ถ้าคุณสงสัย Main Stand มีคำตอบ เพราะการต่อสู้อยู่ใน DNA ของทุกคน

“มนุษย์ทุกคนชอบการต่อสู้โดยธรรมชาติเพราะมันอยู่ใน DNA ของเรา เหมือนกับคุณเดินไปบนถนนเส้นหนึ่ง คุณหันขวาไปเห็นคนกำลังเล่นฟุตบอล คุณหันซ้าย คุณเห็นผู้คนกำลังแบ่งทีมเล่นบาสเกตบอล แต่เมื่อคุณมองไปข้างหน้าคุณดันเห็นคนกำลังมีเรื่องชกต่อยกัน เชื่อเถอะว่าแทบทุกคนมักจะเลือกเดินเข้าไปเป็นไทยมุงดูการต่อสู้ทั้งนั้นแหละ”

นี่คือคำพูดของ ดาน่า ไวท์ ประธานของ Ultimate Fighting Championship (UFC) ที่เชื่อว่าจะยากดีมีจน ทุกคนล้วนมีความเป็นนักสู้อยู่ในตัวทั้งนั้น มนุษย์ทุกคนมี DNA ของการต่อสู้ทั้งนั้น และเรื่องนี้มีคำตอบทางวิทยาศาสตร์ ว่ากันว่าสัญชาตญาณที่แข็งแกร่งที่สุดของมนุษย์คือสัญชาตญาณการเอาตัวรอด เพราะกว่าที่มนุษยชาติจะมาถึงยุคของ “มนุษย์ปัจจุบัน” หรือ Homo sapiens เราผ่านช่วงเวลาแห่งการต่อสู้กับสิ่งต่าง ๆ มานานตั้งแต่กว่า 85 ล้านปีก่อน

และทุกวันนี้ทุกชีวิตก็ยังต้องสู้เพื่อเอาตัวรอดอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง การต่อสู้ที่ว่านี้ไม่ได้หมายถึงการแลกหมัดกันเพียงอย่างเดียวเท่านั้น มนุษย์เอาชนะความหิวด้วยการกินและขึ้นมาเป็นผู้อยู่บนสุดของบ่วงโซ่อาหาร เราเอาชนะความหนาวเย็นด้วยไฟและเครื่องนุ่งห่ม เราเอาชนะโรคร้ายต่าง ๆ ด้วยวิทยาการและการเรียนรู้ เราสู้ด้วยกำลังและมันสมอง นั่นทำให้มนุษย์ยังคงอยู่มาจนทุกวันนี้แม้ไม่ได้เป็นเผ่าพันธุ์ที่แข็งแกร่งที่สุดในโลกนี้ก็ตาม ไดโนเสาร์แข็งแกร่งแต่สูญพันธุ์

UFABETWINS

ต่างกับมนุษย์ที่เอาตัวรอดมาได้ด้วยการต่อสู้และการปรับตัว มาถึงยุคนี้ โหมดของการต่อสู้และเอาตัวรอดก็แยกย่อยเข้าไปอีกหลายแขนง และสิ่งที่ถือเป็นการต่อสู้ยอดนิยมก็คือการชกมวย กีฬาสายต่อสู้ที่อยู่คู่กับมนุษยชาติมาอย่างยาวนาน เราอาจจะไม่ได้ชกกันเพียงเพราะว่าชัยชนะบนสังเวียนเดิมพันด้วยมนุษยชาติเหมือนกับเหตุการณ์ต่อสู้และเอาตัวรอดของมนุษย์ในยุคอดีต แต่มวยก็เป็นกีฬาที่บอกได้ดีว่ามนุษย์ทุกคนนั้นตื่นตัวกับการต่อสู้มากขึ้น

มีวิวัฒนาการในการเตรียมพร้อมก่อนสู้ มีการวางแผนอย่างมีชั้นเชิง ทว่าบางครั้งเราก็หนี DNA ไม่ได้ สัญชาตญาณการเอาตัวรอดจะเริ่มแสดงออกมาในท้ายที่สุดเมื่อคุณกำลังเข้าตาจน

“เราทุกคนล้วนมีแผนการอยู่ในหัวทั้งนั้น จนกระทั่งคุณโดนชกหน้าเข้าซักทีนั่นแหละ เดี๋ยวรู้เลย”

นี่คือคำพูดของ ไมค์ ไทสัน อดีตนักชกแชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวตในช่วงต้นยุค 90s ที่บอกเล่าเรื่องราวในวันที่เขาตัดสินใจกัดหูของ อีแวนเดอร์ โฮลีฟิลด์ ในไฟต์ชิงเข็มขัดก่อนที่เขาจะโดนปรับแพ้เพราะทำผิดกติกา ทว่าไฟต์นั้นเมื่อปี 1997 ก็กลายเป็นตำนานของโลกที่ใครก็ต้องเคยได้ยินมาบ้าง สิ่งที่ไทสัน พยายามจะบอกภายใต้การโดนปรับแพ้คือ “เขาไม่ได้ตั้งใจ” ที่จะกัดหูใคร เขาไม่เคยคิดเล่นนอกกติกา

จนกระทั่งเขาเจอกับสถานการณ์ที่ตัวเองสู้ไม่ได้ โดนต่อยอยู่ฝ่ายเดียว และกำลังจะเป็นผู้แพ้ จริง ๆ แล้วการโดนไล่ชกมันน่าจะทำให้เขาเจ็บหรือปวด แสดงอาการออกมาบ้าง ไม่โดนน็อกไปเลยก็พี่เลี้ยงโยนธงขาวยอมแพ้ไป แต่ที่ ไทสัน เป็นคือเขาเลือดขึ้นหน้าไม่สนวิธีการอีกต่อไป ร่างกายจะเจ็บแค่ไหน

เขาไร้ความรู้สึก ณ จุดนั้น ขอแค่ได้ทำให้อีกฝ่ายเจ็บปวด นั่นคือสิ่งเดียวที่ไทสันคิดได้ เขาจึงกลับลงไปในสังเวียน ลืมทุกอาการหลังจากกินหมัดของ โฮลีฟิลด์ ไปหลายดอก จนสุดท้ายเขาฝ่าพายุหมัดและเข้าไปกัดหูของ โฮลีฟิลด์ จนขาด

“ผมกัดเขาเพราะว่าผมอยากจะฆ่าเขาให้ตาย ผมคลุ้มคลั่งที่หัวของผมถูกกระแทกบ่อยครั้ง มันทำให้ผมหมดความอดทนกับการชก และไม่สนใจแผนการสู้และทุกอย่างที่เตรียมไว้อีกแล้ว” ไทสัน ว่าไว้

หากอธิบายจากความรู้สึกของ ไมค์ ไทสัน และเอาความรู้สึกของเขาแทนความรู้สึกของมนุษย์ส่วนใหญ่ เราจะพบว่าไม่มีใครชอบที่เป็นฝ่ายโดนเล่นงานอยู่ฝ่ายเดียวหรอก ต่อให้คุณจะเกิดมาไม่สู้คนแค่ไหน แต่สุดท้ายแล้วถ้าคุณโดนใครสักคนชกหรือรังแก แม้คุณจะไม่สวนด้วยหมัด ณ วินาทีนั้น แต่ร้อยทั้งร้อยภายในจิตใจคุณย่อมอยากจะรู้สึกโกรธแค้น และมองหาทางสักทางที่จะเอาชนะเขาให้ได้ แม้ไม่ใช่ในทางของการต่อสู้ก็ตาม เรื่องนี้มันฝังอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน

โดยเฉพาะผู้ชาย ในวัยเด็กพวกเราต่างอยากมีพลังไว้จัดการคนชั่ว เหมือนกับในการ์ตูน เมื่อโตขึ้นเราดูหนังสักเรื่องและมีฉากที่ตัวโกงโดนพระเอกเอาคืน อาทิเรื่อง Taken หรือหนังล้างแค้นเรื่องใด ๆ ก็ตาม เราต่างรู้สึกว่าเลือดลมสูบฉีดและสะใจขึ้นมาแบบรู้สึกได้ ถ้าคุณรู้สึกเช่นนั้นจงรู้ไว้เลยว่า DNA ความเป็นนักสู้ในตัวคุณกำลังถูกปลุกขึ้นมา เหตุผลที่โดนต่อยไม่เจ็บ ทุกคนล้วนแต่กลัวและไม่ชอบความเจ็บปวดทั้งนั้น นั่นทำให้เราใช้สมองคิดเสมอว่าจะไม่หาเรื่องหาราว

ทำให้ตัวเองได้รับความเจ็บปวดไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง แต่ก็อย่างที่ ไทสัน บอกนั่นแหละ ทุกคนมีแผนการจนกระทั่งหน้างานไม่ตรงกับแผนการที่วางไว้นั่นแหละ สัญชาตญาณเราจะถูกปลุกออกมา เมื่อการต่อสู้เริ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้แบบอาชีพ อาทิ นักมวยสองคนชกกันบนเวที หรือแม้กระทั่งการทะเลาะและมีเรื่องกันข้างถนน เราจะไม่เหลือสิ่งใดให้กลัวอีกต่อไปเมื่อการต่อสู้เริ่มขึ้น ใครที่เคยได้มีโอกาสขึ้นชกบนเวที หรืออาจจะเคยมีเรื่องกับเพื่อน ๆ

ในสมัยอดีตคงจะพอจำความรู้สึกที่กล่าวไปในข้างต้นได้ เมื่อมีการปล่อยหมัดแรก เราแทบไม่พูดพล่ามทำเพลง ว่ายน้ำเข้าใส่กันแบบไม่หายใจ ณ นาทีนั้นเหมือนกับความรู้สึกกลัว, เจ็บ หรือ ปวด ไม่มีอีกต่อไป จนกระทั่งการต่อสู้จะจบลง เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นเพราะสัญชาตญาณการเอาตัวรอดในตัวเราอีกนั่นแหละ Shortboxing เว็บไซต์เกี่ยวกับมวยได้อธิบายในหัวข้อบทความที่ว่า

UFABETWINS

“นักมวยรับมือกับความเจ็บปวดในการต่อสู้ได้อย่างไร ?”

พวกเขาบอกว่า เพราะการตอบสนองของร่างกาย ยกตัวอย่างเช่นเวลาที่เราจะโดนใครสักคนชกหน้า เสี้ยววินาทีนั้นเปลือกตาของคุณจะปิดลง แขนทั้งสองข้างของคุณจะถูกยกขึ้นมาเพื่อปัดป้องตามสัญชาตญาณ คอของคุณจะหดเพื่อรับแรงกระแทก เมื่อร่างกายได้ป้องกันตัวเองตามสัญชาตญาณก็เหมือนการผ่อนหนักเป็นเบา จากที่จะโดนหมัดซัดเต็มหน้าจนหัวส่าย อย่างน้อยคอที่หดและเกร็งก็ช่วยลดแรงกระแทกที่ส่งตรงถึงสมองได้ จากจะโดนชกเข้าที่ดวงตาจนบอด

ก็กลายเป็นแค่ตาเขียวหรือบวมช้ำเท่านั้น สิ่งนี้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ มนุษย์ทุกคนมีเหมือนกันหมด เพียงแต่เหล่านักมวยนั้นฝึกฝนจนสามารถมีปฏิกิริยาที่เร็วกว่าคนทั่วไป และนั่นเองแทนที่คุณจะเจ็บ คุณจะกลับมาตื่นเต้น หายใจถี่ขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น นั่นก็เป็นเพราะว่าสารอะดรีนาลีนกำลังพุ่งพล่านถึงขีดสุด และเมื่อเป็นเช่นนั้นร่างกายจะลืมอาการเจ็บปวดนั้นไปชั่วขณะ นอกจากนี้ยังมีทฤษฎีเสริมจาก ดร. จิม เทย์เลอร์ แห่งมหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโก

ที่เขียนบทความไว้ในเว็บไซต์เกี่ยวกับจิตวิทยาที่ชื่อ Psychology Today ระบุว่าในสถานการณ์ที่ตึงเครียดถึงขีดสุด ร่างกายของเราจะหลังสารทั้ง อะดรีนาลีน และ เอ็นโดรฟีน เพื่อบล็อกสัญญาณความเจ็บปวด ให้เราได้จัดการสถานการณ์ตรงหน้าจนกว่าเราจะปลอดภัย และหลังจากนั้นสัญญาณความเจ็บปวดก็จะตามมาในภายหลังนั่นเอง เรียกได้ว่าที่สุดแล้วสัญชาตญาณการเอาตัวรอดในความเป็นมนุษย์ คือสิ่งที่ทำให้ร่างกายของเราไม่ได้รู้สึกเจ็บปวดในทันที ในยามมีเรื่อง

ชกต่อย หรือในยามที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น คุณคงเคยได้ยินเรื่องของคนโดนรถชนแต่กลับลุกขึ้นมายืนอย่างหน้าตาเฉย ทว่าเมื่อเวลาผ่าน ณ ช่วงเวลาหนึ่งเขาก็รู้สึกเจ็บปวด โอดโอย เมื่อร่างกายไม่ได้ถูกบล็อกอาการบาดเจ็บอีกต่อไป ร่างกายของมนุษย์นั้นช่างแสนอัศจรรย์ บางครั้งสิ่งที่เราพยายามหาคำตอบแทบตายว่าเป็นเพราะอะไร สุดท้ายคำตอบเหล่านั้นก็อยู่ในตัวของเราเอง มนุษย์ทุกคนมีความเป็นนักสู้อยู่ในตัว มนุษย์ทุกคนมีสัญชาตญาณการเอาตัวรอด อย่างเต็ม

เปี่ยม ดังนั้นจงมอง DNA เหล่านี้และสะท้อนใส่ชีวิตของคุณเอง ทุกวันนี้เราอาจจะมีเรื่องที่ทำให้เครียด เรื่องราวที่ทำให้รู้สึกแย่ และท้อแท้ไม่อยากจะมีชีวิตอยู่ จงมองมันใหม่ในฐานะ 1 ในมนุษยชาติผู้มีสัญชาตญาณการเอาตัวรอดที่เป็นเลิศ หาทางออก รับมือกับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นให้ได้ อดทนเอาไว้จนกว่าที่คุณจะรู้สึกปลอดภัยเหมือนกับที่ DNA ได้บล็อกความเจ็บปวดภายในร่างกายของคุณ จากนั้นค่อยมาหาวิธีเอาชนะมันด้วยความคิดและสติสัมปชัญญะทั้งหมดที่มี

“อีกหนึ่งด้านของความทุกข์และทรมานคือความยิ่งใหญ่ ความยิ่งใหญ่ที่ว่านั้นคือการบรรลุถึงชัยชนะ ซึ่งชัยชนะนี้เกิดขึ้นจากการเอาชนะตัวเอง”

เดวิด ก็อกกิ้นส์ อดีตหน่วยรบ Navy Seal ที่ว่ากันว่าฝึกหนักและทรมานที่สุดว่าไว้ หรืออย่างน้อยที่สุดจงคิดไว้ว่า เมื่อทนมาได้ถึงขนาดนี้แล้ว อย่าได้ยอมแพ้กับความเจ็บปวดใด ๆ ที่เกิดขึ้นง่าย ๆ

“อย่าถอดใจ อย่ายอมแพ้ อย่าลืมว่าคุณได้ลิ้มรสความเจ็บปวดไปแล้ว คุณโดนเล่นงานด้วยความเจ็บปวด และในทุกความเจ็บปวดมีรางวัลซ่อนอยู่เสมอคุณต้องรับมันไว้เป็นรางวัล” คอเนอร์ แม็คเกรเกอร์ ยอดนักสู้ MMA ผู้ชอบลิ้มรสความเจ็บปวดว่าเอาไว้

 

คลิ๊กเลย >>>  https://www.ufabetwins.com/

อ่านข่าวเพิ่ม >>>  บ้านผลบอล

Bookmark the permalink.